นักวิชาการจุฬาฯ วิจัยศักยภาพการท่องเที่ยวสมุทรสาคร

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ทีมงานวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำคณะผู้วิจัยที่เป็นนักวิชาการจากสถาบันต่างๆ มาทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “ศักยภาพและมูลค่าของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ของจังหวัดสมุทรสาคร” ในการนี้ทางคณะผู้วิจัยได้เชิญหัวหน้ากองบรรณาธิการของสาครออนไลน์ ร่วมการสนทนากลุ่มย่อยที่จัดขึ้นที่ห้องประชุม อบต.พันท้ายนรสิงห์ในช่วงบ่าย

ในช่วงเช้าได้ทำการสำรวจคลองสุนัขหอนบางช่วงเนื่องจากมีเวลาจำกัด นางสุรงค์ นาคทอง หัวหน้ากองบรรณาธิการสาครออนไลน์ จึงแนะนำให้เช่าเรือของชาวบ้าน ที่ดัดแปลงเรือจากเรือประมงที่ไม่ใช้แล้วนำมาทำเป็นเรือท่องเที่ยว ที่จัดเป็นโครงการวิสาหกิจชุมชนเป็นการรวมกลุ่มของชาวบ้านจัดเรือบริการนักท่องเที่ยว

โครงการนี้เป็นงบสนับสนุนจาก ครม.สัญจรปี 2555 ผู้รับผิดชอบโครงการคือสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร มีเรือในโครงการรวม 5 ลำ อยู่ในระหว่างดำเนินการปรับปรุงเรือให้เหมาะสมกับการท่องเที่ยว เช่น มีที่นั่งโดยสาร มีห้องน้ำ และที่เก็บอุปกรณ์การทำอาหาร

ทางสาครออนไลน์จึงถือโอกาสที่คณะวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยวลงมาดูคลองสุนัขหอนเพื่อหาแนวทางในการที่จะทำการศึกษาเส้นทางการท่องเที่ยวทางน้ำคลองสุนัขหอนนี้ แนะนำเรือท่องเที่ยวที่ดัดแปลงจากเรือประมงให้กับคณะวิจัยได้เช่าพาไปดูคลองสุนัขหอนเป็นรายแรกของโครงการ

ขณะเดียวกัน ยังได้เชิญคุณจำรัส คชศิลา หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทสาคร ให้ช่วยลงเรือร่วมไปกับคณะวิจัย เพื่อแนะนำโครงการ และประชาสัมพันธ์โครงการเรือท่องเที่ยวผ่านสื่อเว็บไซต์สาครออนไลน์ด้วยในวันนั้น

นางเยาวลักษณ์ วงษ์วรสันต์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร ได้ให้เกียรติมาต้อนรับคณะผู้วิจัย พร้อมชี้แจงโครงการเรือท่องเที่ยวและโครงการอื่นๆ ที่กำลังจะทำต่อจากโครงการนี้ และแนะนำให้ทำหนังสือเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ในการที่จะลงมาทำวิจัยในครั้งต่อไป เพื่อที่ทางจังหวัดจะได้ทราบและอำนวยความสะดวก

ในช่วงบ่ายได้เดินทางไปที่ อบต.พันท้ายนรสิงห์ จัดสนทนากลุ่มย่อยเกี่ยวกับท้องถิ่นเป็นวิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐาน วิถีชีวิต ทัศนคติ ความต้องการ ความคาดหวังของผู้ให้ข้อมูลในประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจง โดยมีผู้ดำเนินการสนทนาเป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิด และแสดงความคิดเห็นต่อประเด็น หรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้างขวาง ละเอียด ลึกซึ้ง

สำหรับคณะผู้วิจัยประกอบด้วย รศ. ศิริชัย พงษ์วิชัย ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชย์ศาสตร์และกรบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร.อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, อ.ดร.พัฒน์ พัฒนรังสรรค์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, อ.ดร. ภูมิสุข คณานุรักษ์ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ผศ.บุญเยือน สายแสงทอง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, ผศ.ปรีชา ชลวัฒนพงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, อ.วัชรายุธ์ โสติทัต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยอีสเธิรน์เอเชีย, นายไพทูรย์ ฮั่นตระกูล นักวิจัยอิสระ, นางสุภาพ ถุงสุวรรณ นักวิจัยอิสระ และนางกาญจนา โยธาใหญ่ นักวิจัยอิสระ ในฐานะเลขานุการแผนงานวิจัย

ผู้ร่วมสนทนาจะเลือกมาจากผู้มีความรู้ด้านต่างๆ อันประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 ได้แก่ คนในชุมชน เช่น หัวหน้าชุมชน, ผู้นำชุมชน, พระ, นักปราชญ์ ฯลฯ กลุ่มที่ 2 ได้แก่ หน่วยราชการ เช่น ครู, อาจารย์, นายก อบต. ฯลฯ กลุ่มที่ 3 ได้แก่ ผู้ประกอบการ เช่น เจ้าของธุรกิจ, เจ้าของที่พัก รีสอร์ท, เจ้าของร้านค้าในพื้นที่ ฯลฯ โดยผู้ร่วมสนทนาจะมีจำนวนรวมไม่เกิน 12 คน

อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ทำการวิจัยบางส่วนลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน และดูสถานที่จริงในการใช้วิถีชีวิตชุมชนกับการท่องเที่ยวผู้ร่วมสนทนาแสดงความคิดเห็น เล่าปัญหาอุปสรรค และความต้องการ ให้ทราบในวงสนทนา ขอความช่วยเหลือจากทางจังหวัดในด้านประชาสัมพันธ์อย่างจริงจังให้กับพวกเขา สนับสนุนสินค้าชุมชนในนามของพวกเขาเพื่อให้เกิดค่านิยมในความเป็นสินค้าของสมุทรสาคร เพราะในปัจจุบันสินค้าของพวกเขา เช่น กะปิ ที่วางขายทั่วไปในจังหวัดสมุทสาครยังใช้ชื่อกะปิที่อื่นเพื่อตอบสนองความนิยมของผู้ซื้อสินค้า

ข้อมูลที่ได้ทีมงานวิจัยจะนำไปดำเนินการต่อ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรสาคร

• สุรางค์ นาคทอง •



แสดงความคิดเห็น


เงื่อนไขในการแสดงความคิดเห็น
• กรุณาแสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำที่สุภาพ โปรดงดเว้นการใช้คำหยาบคาย ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยก หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
• การลบความคิดเห็น ที่ไม่เหมาะสม สามารถกระทำได้ทันที โดยไม่ต้องมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
• ทุกความคิดเห็นไม่เกี่ยวข้องกับผู้ดำเนินการเว็บไซต์ และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้

เรื่องก่อนหน้า-ย้อนหลัง